Blinking Cute Box Cat

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

                   ทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
                  เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
        1 วัสดุ ได้แก่ สิ่งที่มีการผุพังสิ้นเปลืองต่างๆ อาทิ ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม
        2 อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ได้แก่ สิ่งที่มีความคงทนถาวร อาทิ กระดานดำ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องบันทึกภาพ ฯลฯ
        3 วิธีการ ซึ่งได้แก่ กิจกรรม การสาธิต ทดลองต่างๆ ซึ่งจะต้องมี ระบบการนำมาบูรณาการให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษายุคปัจจุบัน

ทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษายุคปัจจุบัน
เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ทางการศึกษา ตาม นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ ซึ่งจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน หรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคน อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมทางด้าน การศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ว่าเป็น  เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ  เทคโนโลยีทางด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น เช่นการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  นักเรียนชนบท   ทุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง  ระบบอินเตอร์นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ทั่วโลก   หรืออาจเรียกได้ว่ามีห้องสมุดโลกอยู่ที่โรงเรียน หรืออยู่ที่บ้าน  โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา  เสียงบประมาณในการที่จัดซื้อหาหนังสือให้มากมาย เหมือนสมัยก่อน นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็นวิทยุ โทรทัศน์ ซีดีรอม สื่ออิเลคทรอนิกส์ ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
Image


วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีกับการศึกษาในปัจจุบัน

เทคโนโลยีกับการศึกษาในปัจจุบัน

        ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาของชาติ โดยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน จากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโดยศาสตราจารย์ ดร.เกษม วัฒนชัย ท่านองคมนตรี ได้กล่าวไว้โดยสรุปว่า "การปฏิรูปการศึกษามิไช่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเทศต่าง ๆ ล้วนตระหนักดีว่า ความเข้มแข็งและความมั่นคงของประเทศ มาจากการพัฒนาศักยภาพคนในชาติ และจะพัฒนาคนจะต้องอาศัยระบบการศึกษาที่ครอบคลุม เข้มแข็ง มีคุณภาพ และโดยประชาชนมีส่วนร่วม "นอกจากนี้แล้วในเอกสารการปฏิรูปการศึกษาไทย ฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง ความรู้และเทคโนโลยี กล่าวคือ มนุษย์สร้างความรู้จากประสบการณ์ตรง และจากการลองถูกลองผิด ทั้งนี้ โดยปัจเจกบุคคล โดยกลุ่ม หรือโดยชุมชนจนเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งฝ่ายตะวันตกและ ฝ่ายตะวันออก โดยมนุษย์ได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยปรากฏการณ์ หรือประสบการณ์ หรือพื้นความรู้เดิมจนเกิดเป็นศาสตร์สาขาต่าง ๆ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ทําให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางตะวันตกได้รับการ พิสูจน์วิจัยจนกลายเป็นศาสตร์สากล แพร่หลายและยอมรับกันทั่วไป หากชาวตะวันออกจะได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยภูมิปัญญาท้อง ถิ่นฝ่ายตน ก็เชื่อว่าจะเกิดศาสตร์ความรู้เชิงสากลได้เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กระทํามาบ้างแล้วในบางประเทศ มนุษย์นําความรู้มาใช้งานเทคโนโลยี คือวิธีหรือรูปแบบของการประยุกต์ความรู้เพื่อนํามาทํางานให้มนุษย์ หากต้องการจะเพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสังคม สังคมนั้นก็ต้องจัดการศึกษาและฝึกอบรมให้ “ทุนความรู้” มีมากที่สุด เท่าที่จะทําได้ เมื่อทุนความรู้มีมาก โอกาสที่คนในสังคม คนในชาตินั้นจะสร้าง “ความรู้ใหม่”ก็มีมากขึ้นตามไปด้วยส่วนการสร้างเทคโนโลยีต้องอาศัยฐานความรู้ที่มากและรอบ ด้าน รวมทั้งต้องทําให้คนในสังคม “คิดเป็น” คือมีจินตนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทําให้คนในสังคมยิ่งรู้วิธีประยุกต์ความรู้ คือ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลายระบบการศึกษาจึงจําเป็นต้องวางแผน เพื่อให้โอกาสและเพื่อลงทุนทางการศึกษาให้กว้างขวางที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ “เรียนรู้และคิดเป็น” และในที่สุดต้องเน้นการอบรมทางศาสนาและศีลธรรม เพื่อให้เขา “มีคุณธรรมและคิดดี” ด้วย เป้าหมายของการแสวงหา สรรค์สร้าง และเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยี จึงเป็นไปเพื่อ
(1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
(2) ประโยชน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
(3) อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

ประวัติส่วนตัว





ชื่อ นางสาวนันทภัค เมืองรื่น  ชื่อเล่น พิ้งค์
เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2538
รหัสนักศึกษา 5681135073
คณะครุศาสตร์  สาขาคอมพิวเตอร์ 02
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ช่องทางการติดต่อ
FACEBOOK: Nunthapak  Muangruean
E-mail: pinknaza@hotmail.com